สรุปผลการเรียนรู้ที่ 3
การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
คำศัพท์
Relation = ตาราง (Table)
Attribute = ชื่อของคอลัมน์
Tuple = แถวของ relation 1 แถว
Determinant = ตัวกําหนดค่า
Dependency = ค่าที่ขึ้นอยู่กับ Determinant
Candidate key = คีย์คู่แข่ง
Redundancy = ความซํ้าซ้อนของข้อมูล
Composition key = คีย์ร่วม
Repeating groups = กลุ่มข้อมูลซํ้า
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
คือ การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะที่เป็นกลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ในฐานข้อมูลหนึ่งๆ สามารถที่จะมีตารางตั้งแต่ 1 ตารางเป็นต้นไป และในแต่ละตารางนั้นก็สามารถมีได้หลายคอลัมน์ (Column) หลายแถว (Row)
ตัวอย่างเช่น เราต้องการเก็บข้อมูลพนักงาน ในตารางของข้อมูลพนักงานก็จะประกอบด้วยคอลัมน์ ที่อธิบายรหัสพนักงานชื่อ นามสกุล เงินเดือน ตำแหน่ง ฝ่าย เป็นต้น
Normalisation คือ การปรับข้อมูลให้เป็นรูปแบบบรรทัดฐานเพื่อลดความซํ้าซ้อนในการเก็บข้อมูล ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล รวมทั้งเพิ่มความถูกต้องและลดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง
การทําให้เป็นบรรทัดฐาน (Normal Form) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ ภาวการณ์พึ่งพิงซึ่งกันและกันของคอลัมน์หรือ แอตทริบิวต์(Attribute Interdependency) ในแต่ละตารางสัมพันธ์ (Relation) โดยทดสอบเปรียบเทียบกับ เกณฑ์ของการเป็นรูปแบบบรรทัดฐาน (Normal for m criteria) ซึ่งที่ใช้งานกันทั่วไป
มีทั้งหมด 6 ระดับ หรือ 6รูปแบบบรรทัดฐาน ได้แก่
รูปแบบบรรทัดฐานที่ 1 (1NF)
รูปแบบบรรทัดฐานที่ 2 (2NF)
รูปแบบบรรทัดฐานที่ 3 (3NF)
รูปแบบบรรทัดฐาน BCNF
รูปแบบบรรทัดฐานที่ 4 (4NF)
รูปแบบบรรทัดฐานที่ 5 (5NF)
เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ และออกแบบตาราง
ในฐานข้อมูลให้ลดความซํ ้าซ้อนของข้อมูลในตาราง
ความขัดแย้งของ และง่ายต่อการจัดการตาราง และ
ข้อมูลในตาราง เช่น ลบ แก้ไข ตามหลักการของ RDB
(Relational Database)
ความจำเป็นในการกระทำ Normalization
เกิดปัญหาในการทีจะค้นหรือสรุปข้อมูล เช่น เราจะค้นว่าใครบ้างทีจะค้นข้อมูลทำให้เราค้นไม่ได้หรือจะสรุปว่ามีครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์กี่คนก็จะสรุปไม่ได้เช่นกันเราไม่สามารถสรุปหรือค้นข้อมูลได้ถ้าเราจัดเก็บข้อมูลในลักษณะนี้
ถ้าเราจัดเก็บข้อมูลในลักษณะนี้ก็จะไม่ถูกต้องเนื่องจากว่ามันจะผิดกฏเกณฑ์ในเรื่องของระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์โดยเฉพาะถ้าเรากำเนิดให้รหัสผู้สอนด้วยหลายแผนไม่ได้การเก็บข้อมูลในลักษณะนี้จะมองว่าแต่ล้ะแถวๆจะเก็บข้อมูล เช่น อาจารย์วิชามีกำเนิดแต่บันทัดถัดไประบบจะมองว่าใครจะสอนวิชาต่อไปเพราะไม่มีชื่อ เป็นต้น
ระดับของNormalization
การทำ Normalization จะแบ่งเป็น 5 ระดับ แต่โดยทั่วไปมักกระทำเพียง 3 ระดับหรือ 4 ระดับ ก็จัดว่าเพียงพอคือ เริ่มจาก
•ระดับที่ 1 กำจัดกลุ่มข้อมูลที่ซ้ำกัน (Repeating Group)
•ระดับที่ 2 กำจัดการขึ้นต่อกันเพียงบางส่วน (partial Dependency)
•ระดับที่ 3 กำจัดการจึ้นต่อกันแบบสืบทอด (Transitive Dependency)
•ระดับที่ 4 กำจัดการจึ้นต่อกันแบบหลายค่า (Multi values Dependency)
ความเข้าใจเกี่ยวกับการกระทำ Normalization
มันไม่ใช่ขั้นตอนทีจะต้องทำมันเป็นการตรวจสอบการออกแบบโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลมากกว่าเมื่อออกแบบโครงสร้างจัดเก็บข้อมูลมาแล้วก็จะมาดูด้วยการ Normalization เพื่อตรวจสอบให้เกิดความมั่นใจว่าโครงสร้างข้อมูลทีออกแบบข้อมูลมีความถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่
เนื่องจาก Normalization เป็นการตรวจสอบการออกแบบโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าโครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบข้อมูลมีความถูกต้องสมบูรณ์
เพราะฉะนั้นการทำนอร์มอลไลส์ จึงไม่จำเป็นทำที่ละขั้นหรือที่ละระดับโดยถ้าผู้ออกแบบมีความเชี่ยวชาญ ตารางข้อมูลที่ออกแบบมาอาจเป็น Normal Form ระดับที่ 3 โดยไม่ต้องผ่านระดับที่ 1 หรือ ระดับที่ 2 มาก่อนก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น