วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2 ( สถาปัตยกรรมระบบฐานข้อมูล)

สรุปผลการเรียนรู้ที่ 2

     สถาปัตยกรรมระบบฐานข้อมูล

                         


สถาปัตยกรรมฐานข้อมูลนี้จะถูก แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1. ระดับความคิด (Conceptual Level) เป็นระดับการกำหนดรูปแบบข้อมูล ขนาดของข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลใช้วิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศเป็นระดับกาออกแบบฐานข้อมูล

2. ระดับภายนอก (External Level) เป็นระดับการกำหนดโครวสร้างข้อมูลสำหรับผู้ใช้ใช้เก็บข้อมูลจริงกล่าวถึงมุมมอง ที่มีต่อข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน 

3.ระดับภายใน (Internal Level) เป็นระดับของการจัดเก็บข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลจริง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูล ผู้ใช้แต่ละคนมีการมองภาพของข้อมูลที่แตกจ่างกัน




แบบจำลองฐานข้อมูลมี 3 แบบ

1. แบบจำลองลำดับชั้น มาจากโครงสร้างต้นไม้ (Hierarchical Model) แบบลำดับ

    โครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น 

จะมีลักษณะคล้ายต้นไม้ทีว่ำหัวลง

ลักษณะคล้ายๆโครงสร้างต้นไม้ (Tree Structure) มีการสืบทอดเป็นลำดับชั้น โหนดสูงสุดจะเรียกว่าราก (Root) โหนดระดับล่างลงมาจะเรียกว่า (Leaves) เรียกฐานข้อมูลในระดับนี้อีกชื่อหนึ่งว่าซิกเมนต์ (Segment) เปรียบได้กับเรคอร์ดในระบบแฟ้มข้อมูล เซกเมนต์ที่อยู่ระดับล่างลงไปก็คือเซกเมนต์ก่อนหน้า ความสัมพันธ์เป็นแบบ 1:M กล่าวคือ โหนดบนจะแตกโหนดลูกได้หลายๆโหนด ในขณะที่โหนดลูกจะมีโหนดบนเพียงโหนดเดียวเท่านั้น

โดยลักษณะของฐานข้อมูลจะประกอบไปด้วย

1. แบบหนึ่งต่อหนึ่ง : นักศึกษาหนึ่งคนจะมีสูติบัตรเพียงใบเดียวเท่านั้น และสูติบัตรหนึ่งใบก็เป็นของนักศึกษาได้เพียงหนึ่งคนเท่านั้นเช่นกัน 

2.แบบหนึ่งต่อกลุ่ม : นักษา 1 คนสามารถลงทะเบียนได้หลายวิชา หรือ 1 หลักสูตรมีนักศึกษาลงทะเบียนได้หลายคน

3.ไม่มีแบบกลุ่มต่อกลุ่ม 

2. แบบจำลองเครือข่ายมาจากทฤษฎีเซต (Network Model) แบบเครือข่าย
ข้อมูลในฐานข้อมูลแบบนี้สามารถมีความสัมพันธ์กับแบบใดก็ได้ เช่น อาจเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง หนึ่งต่อกลุ่ม หรือกลุ่มต่อกลุ่ม ตัวอย่างของฐานข้อมูลแบบนี้เช่น การสั่งซื้อสินค้าจากร้านผู้ผลิตสินค้าและการนำสินค้าไปเก็บในคลังสินค้า ซึ่งจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนร้านผู้ผลิตสินค้า และระเบียนสินค้า และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนสินค้าและระเบียนที่เก็บสินค้า ได้โดยการใช้ลูกศรเชื่อมโยงเช่นกัน

3. แบบจำลองเชิงสัมพันธ์มาจากพีชคณิตเชิงสัมพันธ์ (Relational Model) แบบเชิงสัมพันธ์
รูปแบบเชิงสัมพันธ์เป็นรูปแบบที่คนมักนิยมใช้
    พัฒนาการของบันทึกจัดเก็บข้อมูลเริ่มต้นจากจัดเก็บแบบแฟ้มลำดับ (Sequential file) ก่อนจะมีการพัฒนาแบบจำลองฐานข้อมูล (Database) แบบต่าง ๆ

ข้อดีและข้อเสียของแฟ้มลำดับ

ข้อดี : เรียบร้อย

ข้อเสีย : การเรียกค้นหาทำได้ยาก , ข้อมูลซับซ้อน

แบบจำลองลำดับชั้น (Hierarchical models) 

ข้อดี : ลดความซับซ้อนได้บางส่วน

ข้อเสีย : แอพลิเคชั่นไม่เป็นอิสระจากข้อมูล


แบบจำลองเครือข่าย (Network models) 

ข้อดี : สามารถแก้ไขปัญหาความซับซ้อนได้

ข้อเสีย : แอพลิเคชั่นไม่เป็นอิสระจากข้อมูล


แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ (Relational models)

ข้อดี : โครงสร้างเรียบร้อย , มีภาษา SQL เป็นเครื่องมือ

ข้อเสีย : เกิดความซับซ้อนในฟิลด์ที่เป็นคีย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น