วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 1 (ข้อมูลและสารสนเทศ)

 สรุปผลการเรียนรู้ที่ 1 

 ข้อมูลและสารสนเทศ
                      

    -ข้อมูล"Data"  หมายถึง ข้อเท็จจริง วัตถุ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นข้อมูลดิบการประมวลผลหรือทีเรียกกันง่ายๆคือข้อมูลที่ยัง ไม่ได้ผ่านกํารประมวลผล
 -สารสนเทศ"Information" หมายถึง ข้อมูลที่ ผ่านการประมวลผลมาแล้ว โดยสรุปเป็นรายงานทางสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจด้านใดด้านหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ได้ 

โครงสร้างแฟ้มข้อมูล File Structure
       โครงสร้างแฟ้มข้อมูล ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานที่ลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุด แล้วนำมารวมเข้าด้วยกันเพื่อกลายเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับ


-File ไฟล์ คือ กลุ่มของเรคคอร์ดที่สัมพันธ์กัน เช่น แฟ้มประวัตินักศึกษา จะประบอกด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาทั้งหมดในมหาลัย ดังนั้นหนึ่งไฟล์จะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเรคคอร์ด เพื่อใช้การใช้งานข้อมูล เป็นต้น


-Record เรคอร์ด คือกลุ่มของฟิลด์ที่สัมพันธ์กัน เช่น ในหนึ่งเรคคอร์ดประกอบด้วยฟิลด์ต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นชุด เช่น เรคคอร์ดประวัตินักศึกษา ประกอบด้วย
-ฟิลด์
-รหัสนักศึกษา
-ชื่อ-สกุล     
                           
-Field ฟิลด์ คือ เป็นการนำหลายๆ ไบต์มารวมเข้าด้วยกันจนกลายเป็นฟิลด์ เช่น  ฟิลด์ name ใช้แทน
ชื่อ-นามสกุลนักศึกษา และฟิลด์ คะแนนที่ได้ ใช้เก็บคะแนนที่ได้ของนักศึกษา เป็นต้น

-Bit บิต คือ หน่วยที่เล็กทีสุด ประกอบไปด้วยเลขฐานสองใช้แทนค่าหน่วยที่เล็กทีสุดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยหน่วยที่ใช้จะมีค่า 0 และ 1เท่านั้นไม่สามารถแทนค่าหลายตัวได้

-Byte ไบต์ คือ การนำเอาบิตหลายๆบิตมาเรียงกันเป็นไบต์ ซึ่ง 1 ไบต์ มี 8 บิต จึงสามารถสร้างรหัสแทนข้อมูลขึ้นมาเพื่อใช้แทนตัวอักขระให้แตกต่างกันได้ถึง 256 อักขระด้วยกัน ไบต์ไม่สามารถสื่อข้อมูลได้อย่างมีความหมาย
   
ชนิดของข้อมูล
  ข้อมูลที่จัดเก็บลงในแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล นอกจากจะเป็นแบบข้อความแล้ว ยังมีเสียงประกอบคำบรรยาย โดยชนิดของข้อมูลยังแบ่งออกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่
  •       1. ข้อมูลชนิดข้อความ  เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วยอักขระต่างๆ นำมารวมกันเป็นคำหรือประโยคเพื่อสื่อความหมายแทนสิ่งๆ หนึ่ง โดยไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนและแน่นอน เช่น ชื่อนักศึกษา และที่อยู่ของนักศึกษา เป็นต้น
  •        2. ข้อมูลที่เป็นรูปแบบ   เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักขระต่าง ๆ รูปแบบแน่นอน ถูกกำหนดในรูปของรหัส ทำให้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บตัวอย่างเช่น รหัสสาขา “CS” ใช้แทนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  •        3. ข้อมูลรูปภาพ   การแทนข้อมูลด้วยรูปภาพในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมาก ข้อมูลรูปภาพนิยมนำมาใช้เสริมร่วมกันกับข้อมูลแบบข้อความเพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ข้อมูลประวัตินักศึกษา เป็นต้น
  •         4. ข้อมูลชนิดเสียง   เป็นไฟล์ข้อมูลชนิดหนึ่งที่ใช้จัดเก็บเสียงแบบดิจิตอล เช่น การแปลงเสียงพูดของมนุษย์หรือเสียงดนตรี ซึ่งเป็ นแบบแอนะล็อก ให้กลายเป็นไฟล์ดิจิตอล ตัวอย่างเช่น ไฟล์ประเภทMIDI หรือไฟล์ดิจิตอลทั่ว ๆ ไป
ระบบแฟ้มข้อมูล
  • วิธีดั้งเดิม  จัดเก็บเอกสารลงในแฟ้มเอกสาร ซึ่งแฟ้มเอกสารเหล่านี้แต่ละแผนจัดเก็บกันเอง เมื่อเวลาผ่านไปเอกสารมีจำนวนมากขึ้น ดังนั้น การค้นหาเอกสารในแฟ้มเอกสารจึงเป็นไปด้วยความลำบากและต้องใช้เวลานานมาม  
  • ยุคแรก วิธีการจัดเก็บยังคงคล้ายคลึงกับการจัดเก็บแฟ้มเอกสารด้วยมือเพียงแต่ต่างกันตรงที่เป็นการจัดเก็บข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าแฟ้มข้อมูล หรือที่เรียกกันว่าไฟล์ โดยแต่ละไฟล์ไม่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กัน
  • กระทั่งปีค.ศ.1960   เข้าสู่ยุคการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ได้ถือกำเนิดภาษา COBOLขึ้นมา ซึ่งจัดเป็นภาษารุ่นที่3 ที่ จำเป็นต้องพึ่งพาโปรแกรมเมอร์ในการเขียนโปรแกรมเพื่อจัดการเก็บแฟ้มข้อมูลในระบบ
               

 ระบบฐานข้อมูล (Database System)


                                
ฐานข้อมูล (Database) เป็นศูนย์รวมของข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน โดยจะมีกระบวนการจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างมีระเบียบแบบแผนและผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนกลางนี้ได้ ซึ่งจะทำหน้าที่แบ่งปันข้อมูลแก่ผู้ใช้ตามหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้งานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา จึงช่วยแก้ปัญหาความซํ้าซ้อนของข้อมูลได้เป็นอย่างดีข้อมูลจึงมีความทันสมัยอยู่เสมอ

 ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) หรือ DBMS
คือซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล โดยผู้ใช้สามารถโต้ตอบสื่อสารกับฐานข้อมูลได้โดยตรงผ่านชุดคำสั่ง SQL หรือนำชุดคำสั่ง SQL ไปผนวกลงในโปรแกรมประยุกต์เพื่อใช้งานร่วมกันกับโปรแกรมที่เขียนขึ้นก็ได้
                
           DBMS จะถูกใช้เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ตามรายละเอียด ดังนี้
  • ภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่ม DDL จะนำมาใช้เพื่อสร้างฐานข้อมูลกำหนดโครงสร้างและชนิดข้อมูล
  • ภาษที่จัดอยู่ในกลุ่ม DML จะนำมาใช้เพื่อจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มกปรับปรุงการลบและการเรียกดูข้อมูล
  • ภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่ม DCL จะนำมาใช้ควบคุมฐานข้อมูล เช่น คำสั่งกำหนดสิทธิ์หรือยกเลิกสิทธิ์ในการเข้าถึงฐานข้อมูลซึ่งคำสั่งทั้งหลายเหล่านี้มักเขียนขึ้นด้วยภาษามาตรฐานที่เรียกว่า SQL

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม 
อ้างอิง
https://www.lib.ru.ac.th/journal/islamic-culture/marid1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น